วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเต้นรำพื้นเมือง
การเต้นรำพื้นเมือง หมายถึง การแสดงที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่นและตามพื้นที่ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศที่นิยมเล่นกันแพร่หลายตลอดมาทุกยุคทุกสมัย เป็นกิจกรรมที่ไม่ยากนัก มักจะเล่นเป็นหมู่ โดยที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าร่วมเล่นได้ โดยอาจมีการพัฒนา ดัดแปลงมาจากการละเล่นพื้นเมืองของท้องถิ่นนั้น ๆ ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่บรรพบุรุษได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดไว้ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่น
                การเต้นรำมีประวัติอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยยุคโบราณ มีการเต้นรำเพื่อบูชาเทพเจ้า ขอพรและขอความคุ้มครอง เป็นกิจกรรมบันเทิงควบคู่กันไปกับการกระทำพิธีกรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต  ซึ่งเรียกว่า การเต้นรำดั้งเดิม (Primitive dance) เมื่อสังคมเจริญก้าวหน้าขึ้น มนุษย์มีการรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนที่มีการพัฒนาทางด้านเกษตรและการเลี้ยงสัตว์  การเต้นรำดั้งเดิมก็ได้รับการพัฒนาเป็น “การเต้นรำพื้นเมือง” (Folk dance) และเริ่มเป็นกิจกรรมสังคมที่แยกจากเรื่องของพิธีกรรมทางศาสนาและลัทธิความเชื่อมา เป็นกิจกรรมนันทนาการเพื่อความบันเทิง  และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่คณะเพื่อนฝูง ดังนั้น การเต้นรำพื้นบ้านจึงได้รับความนิยมกว้างขวางขึ้นในสังคมเมือง ต่อมามีการพัฒนาการเต้นรำพื้นบ้านเป็นการเต้นรำที่เรียกว่า ลีลาศ (Ballroom dance) โดยมีกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ  ในปลายศตวรรษที่ 18 และแพร่หลายไปทั่วโลก จนถึงปัจจุบัน
ตัวอย่างการเต้นรำพื้นเมืองของชาติต่าง ๆ
1.               La Raspa จากเม็กซิโก


2.               Clog dance จากอังกฤษ


3.               เพลงนากิลา (Hava Nagila) ประเทศอิสราเอล
เป็นเพลงพื้นเมืองภาษาฮีบรู นิยมใช้ร้องและบรรเลงในงานแต่งงาน และในเทศกาลบาร์มิตซาร์ของชาวยิวเพลงนี้นำทำนองมาจากเพลงเต้นรำพื้นเมือง แถบแคว้นบูโควีนาทางตะวันออกของยูเครน ส่วนคำร้องแต่งโดย Abraham Zevi Idelsohn เมื่อปี ค.ศ. 1918 ในการฉลองที่กองทัพอังกฤษชนะการรบที่ปาเลสไตน์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพลงนี้ได้รับความนิยมในวงกว้างจากผลงานบันทึกเสียงของแฮรี เบลาฟอนเท ในปี ค.ศ. 1959 จนกลายเป็นเพลงประจำตัว ที่เบลาฟอนเทใช้ในการแสดงคอนเสิร์ตทุกครั้ง


4.               Scottish folk dance: Strathspey & Tulloch


5.               Philippine Folk Dance Carinosa
เป็นระบำพื้นเมืองที่ได้อิทธิพลมาจากสเปน คาริโนซา แปลว่า คู่รัก หรือที่รัก เวลาเต้นจะจับคู่หญิง – ชาย ผู้หญิงจะใส่ชุด Maria Clara และถือพัด หรือผ้าเช็ดหน้า ร่ายรำแสดงท่าทางเขินอาย บทเพลงมีเนื้อหาชมความงามของหญิงสาว


6.               Mazurka (มาซูร์กา) คือ ประเภทของเพลงเต้นรำชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงเต้นรำพื้นบ้านของโปแลนด์ ซึ่งใช้การนับในอัตราสาม ( 3/4หรือ 3/8 ) และมักใช้จังหวะประจุ โดยเน้นจังหวะที่ 2 หรือ 3 ซึ่งต่างจาก Waltz ที่เน้นจังหวะที่ 1


ประวัติการเต้นรำพื้นเมืองของประเทศไทย
          ความต้องการของมนุษย์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งรองจากปัจจัยสี่ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค คือ ความต้องการเกี่ยวกับความสนุกสนานรื่นเริง ดังเห็นได้ว่าชนแต่ละชาติแต่ละเผ่ามักจะใช้วิธีการแสดงออกเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงสำหรับชนเผ่าของตนเองตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มาแล้วทั้งสิ้น วิธีการแสดงออกเพื่อความสนุกสนานที่สำคัญอย่างหนึ่งและมักจะปฏิบัติอยู่เสมอโดยทั่วไปนั้นคือ การแสดงออกด้วยการเต้นรำหรือร้องรำทำเพลงนั้นเอง การแสดงออกด้วยการร้องรำทำเพลงหรือเต้นรำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงอาจจะเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เป็นไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงอย่างแท้จริง การแสดงออกด้วยการร้องรำทำเพลงด้วยความสนุกสนานนี้แต่ละชนชาติแต่ละเผ่าจะมีวิธีการแสดงออกที่เป็นลักษณะเฉพาะ ของตนเอง ทั้งนี้อาจจะมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม ชีวิตการเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม ตลอดจนความเชื่อโชคลางต่างๆ และอาจจะเป็นจากสาเหตุนี้เองที่ทำให้การร้องรำทำเพลงของแต่ละชนชาติซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้นกลายมาเป็นศิลปะประจำชาติของแต่ละชาติไปดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ 
                สำหรับการเต้นรำพื้นเมืองของประเทศไทยมักเป็นการเต้นรำที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยในสมัยนั้นๆ  เช่น การเซิ้งบั้งไฟ เพื่อขอฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเต้นกำรำเคียว ที่เป็นการแสดงที่สะท้อนให้เห็นถึงอาชีพของคนไทยในสมัยก่อนที่มักเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การทำนาเกี่ยวข้าว
ตัวอย่างการเต้นรำพื้นเมืองของไทย
การแบ่งประเภทของการแสดงพื้นเมืองของไทย โดยทั่วไปจะแบ่งตามส่วนภูมิภาค ดังนี้
1. การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ
เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยล้านนา ไทยเงี้ยว ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่า
- ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมที่มีความสวยงาม โดยผู้ฟ้อนสวมเล็บสีทอง

- ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับฟ้อนเล็บ แต่จะฟ้อนเวลากลางคืน


2.    การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง
เป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ
- รำกลองยาว

- เต้นกำรำเคียว เป็นการแสดงพื้นเมืองของจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นกันตามท้องนา ผู้แสดงทั้งชายและหญิงถือเคียวมือหนึ่งถือถือรวงข้าว ร้องเกี้ยวพาราสีกันอย่างสนุกสนาน


 3.  การแสดงพื้นเมืองของอีสาน
- เซิ้งบั้งไฟ  เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการขอฝน


4.  การแสดงพื้นเมืองของใต้
จังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ และเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทตีให้จังหวะเป็นสำคัญ
- โนรา เป็นการแสดงแบบโบราณที่มีมาช้านาน นิยมแสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล

- ตารีกีปัส เป็นการรำพัด ซึ่งเกิดจากการผสมผสานกับการแสดงของมาเลเซียในเพลงชื่อบัวกาน่า วงดนตรีพื้นบ้านผสมสากล แสดงได้สองแบบคือชาย-หญิง และหญิงล้วน


ที่มา
https://sites.google.com/site/edwincasiyas/Article
http://mybllock.blogspot.com/2012/11/folk-dance.html
http://dragon245.blogspot.com/2012/01/folk-dance.html